มุ่งมั่นเอาชัย ภาษาไทย วิชาสามัญ #TCAS’61

เตรียมสอบ-ไทย-วิชาสามัญ
มุ่งมั่นเอาชัย ภาษาไทย วิชาสามัญ #TCAS’61
เย้ ๆ ! น้อง ๆ คนไหนต้องใช้คะแนนจากการสอบวิชาสามัญกันบ้าง มารายงานตัวหน่อย พี่วีวี่มีข้อมูลการวิเคราะห์ข้อสอบ และการวางแผนเตรียมตัวก่อนสอบจากพี่ยู THAI EXPERT มาฝากด้วย แต่ก่อนอื่นเรามาดูรูปแบบและจำนวนข้อสอบวิชาสามัญ ภาษาไทย ของปี 61 กันก่อนค่ะ

รูปแบบและจำนวนข้อสอบวิชาสามัญ ภาษาไทย

จำนวนเวลาที่ใช้สอบ : 90 นาที (เฉลี่ยข้อละ 1:48 นาที)

รูปแบบข้อสอบ จำนวนข้อ คะแนน
ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ 50 100

สถิติคะแนนวิชาสามัญ ภาษาไทย ปี 60

คะแนนสูงสุด 96.00 คะแนน
คะแนนเฉลี่ย 58.19 คะแนน
คะแนนต่ำสุด 0 คะแนน

เนื้อหาวิชาสามัญ ภาษาไทย

เนื้อหาที่จะออกสอบในวิชาสามัญ ภาษาไทย จะมีด้วยกัน 4 สาระ คือ

สาระการเขียน

สาระการอ่าน

สาระการฟัง, การดู, การพูด

สาระหลักการใช้ภาษาไทย

*  ไม่ออกสาระวรรณคดีและวรรณกรรม

วิเคราะห์ข้อสอบวิชาสามัญ ภาษาไทย

  • ลักษณะโจทย์จะออกเป็น Pattern คล้ายกันตลอดทุกฉบับที่ผ่านมาในแต่ละปี
  • ข้อสอบส่วนใหญ่แนวเดียวกันกับ O-NET แต่ค่อนข้างลึกและยากกว่า
  • จุดเน้นของข้อสอบออกเยอะ คือ สาระการอ่าน และสาระหลักการใช้ภาษา

วางแผนก่อนสอบกับพี่ยู THAI EXPERT

ปฐมฤกษ์  รู้เขารู้เรา ตั้งเป้าคะแนน

  • ศึกษาข้อมูลสถิติคะแนนสอบ ปี 2558 – 2560 เพื่อประเมินความยากง่าย พยากรณ์ความเป็นไปได้เพื่อเพิ่มศักยภาพ
  • ตั้งเป้าคะแนนวิชาสามัญ ภาษาไทย เพื่อไม่ให้ประมาท มีความมุ่งมั่นทำคะแนนให้ได้ตามเป้า และสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยให้มากที่สุด

 
ทุติยฤกษ์  สแกนประเด็น ให้เห็นกำลัง

  • ศึกษารูปแบบข้อสอบและสาระที่ออกสอบ เพื่อจะได้อ่านหนังสือตรงจุด เน้นที่ออกมาก ที่ยากจะได้เตรียมไปให้ดี
  • วิเคราะห์ข้อสอบ 6 ปีย้อนหลัง (ปี 2555 – 2560) เพื่อให้มั่นใจว่า ที่อ่าน = ที่ีออก จะอ่านทั้งทีต้องมีแผนที่แยบยล
  • ค่าเฉลี่ยจำนวนเรื่อง/ จำนวนข้อ/ คะแนนในแต่ละสาระ
  • ยุทธวิธีในการเตรียมตัวแต่ละสาระ

 
ปัจฉิมฤกษ์  พิฆาตไม่ยั้ง ตามผังที่วางแผน

  • วางแผนเตรียมพร้อม
  • ควรฝึกทำข้อสอบวิชาสามัญให้ “ครบทุกปี” หรืออย่างน้อย 3 ปีย้อนหลัง (2558-2560) สังเกตให้ดี เรื่องไหนเจอบ่อย ๆ
  • หากมีเวลา ให้ฝึกทำข้อสอบ O-NET เพิ่มเติมด้วย เพราะแนวข้อสอบคล้ายกันหลายเรื่อง
  • จับเวลาเสมือนจริงทุกครั้งที่ฝึกทำโจทย์หรือข้อสอบวิชาสามัญ ภาษาไทย
  • จดบันทึกข้อหรือเรื่องที่มักเสียคะแนน แล้วอ่านทวนเฉพาะจุดที่เป็นปัญหา

ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ ภาษาไทย

สำนวนใดเหมาะสมที่จะเติมในช่องว่างของข้อความต่อไปนี้  (วิชาสามัญ 57)
เราควรนึกถึงความชอบ ความถนัด และความสามารถของเราก่อนจะเลือกเรียนสาขาใด สาขาหนึ่ง อย่า _______________ เลือกเพราะความนิยมหรือเพราะเพื่อนเลือก

  1.  จับปลาสองมือ
  2.  ตกกระไดพลอยโจน
  3.  เหยียบเรือสองแคม
  4.  เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง
  5.  เห็นกงจักรเป็นดอกบัว
เฉลย

ข้อ  4.

การแสดงเหตุผลในข้อใดต่างกับข้ออื่น  (วิชาสามัญ 57)

  1.  แมลงมีหัวใจและเส้นโลหิตใหญ่ติดต่อกันเป็นท่อเดียว และมีกล้ามเนื้อติดกับหัวใจทำให้โลหิตสูบฉีดหมุนเวียนดีขึ้น
  2.  แมลงเป็นสัตว์ซึ่งมีมากที่สุดในโลก นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องจำแนกหมวดหมู่แยกชั้นเพื่อให้สะดวกต่อการศึกษาวิจัย
  3.  แมลงส่วนมากมีขนาดเล็ก เคลื่อนไหวเร็ว เมื่อต้องการจับควรเตรียมขวดแก้วที่มีฝาปิด ใช้พู่กันค่อย ๆ เขี่ยแมลงใส่แล้วปิดปากขวด
  4.  ระบบเส้นโลหิตของแมลงไม่ซับซ้อนเท่ากับของสัตว์มีกระดูกสันหลัง เส้นโลหิตของแมลงพาดตามยาวจากหัวไปจนสุดปล้องท้องของลำตัว
  5.  แมลงแต่ละชนิดมีวิธีกินอาหารต่างๆ กัน เช่นใช้ปากกัดเคี้ยวบ้าง หรือใช้ปากแหลมเจาะเนื้อสัตว์เพื่อดูดเลือดบ้าง มีการจัดลักษณะปากแมลงไว้หลายแบบ
เฉลย

ข้อ  4.

ข้อใดใช้คำผิดความหมาย  (วิชาสามัญ 57)

  1.  ไม่มีอะไรจะวิเศษไปกว่าการมีลูกเป็นคนดี
  2.  การจลาจลที่เกิดขึ้นครั้งนี้ทำให้บ้านเมืองยุ่งเหยิง
  3.  คนเป็นแพทย์ต้องมีจรรยาแพทย์จึงจะได้รับการยกย่อง
  4.  ฉันเป็นคนปากโป้ง พอเขาพูดจบ ฉันก็โต้สวนกลับไปทันควัน
  5.  ผู้ชายไทยมักถือว่าการเดินลอดราวตากผ้านุ่งผู้หญิงจะทำให้ไม่เจริญ
เฉลย

ข้อ  4.

คำในข้อใดใช้ได้มากกว่า 1 ความหมายทั้งสองคำ  (วิชาสามัญ 59)

  1.  สอดไส้         สิ้นคิด
  2.  ดำน้ำ            ฟ้าผ่า
  3.  ลูกหลง         ลายเส้น
  4.  หน้าตา          น้ำแร่
  5.  มือปืน            สวนหย่อม
เฉลย

ข้อ  2.

ข้อใดไม่ใช่ราชาศัพท์ที่ถูกต้องในการเรียบเรียงข่าวที่เกี่ยวกับสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  (วิชาสามัญ 59)

  1.  ทรงส่งเสริมบูรณาการด้านการแพทย์ และสาธารณสุขไทย
  2.  เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชภารกิจกับนานาชาติหลายครั้ง
  3.  มีพระราชดำรัสเปิดการสัมมนาบัณฑิตศึกษาเรื่องความเปลี่ยนแปลงของภาษา
  4.  ทรงประเคนพัดรองที่ระลึกงานฉลองพระชนมายุ 5 รอบ แด่พระราชาคณะ
  5.  ทรงพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับโภชนาการสำหรับนักเรียนประถมศึกษา
เฉลย

ข้อ 5.

โอ้โห! ได้ลองทำข้อสอบเก่าแล้วพอจะทำได้ไหมเอ่ย หากใครที่ทำไม่ได้เลย หรือได้คะแนนน้ออยู่ต้องกลับไปฝึกฝนให้เต็มที่เลยนะคะ อย่าคิดว่าเหลือเวลามาก เพราะอีกไม่กี่เดือนก็จะถึงช่วงเวลาสอบแล้วค่ะ
และหากน้อง ๆ กำลังมองหาตัวช่วยอยู่ พี่วีวี่ก็มีคอร์สตะลุยโจทย์ภาษาไทย วิชาสามัญ เป็นคอร์สที่เหมาะกับน้องๆ ที่ทบทวนเนื้อหามาแล้วแต่อยากเพิ่มความมั่นใจในการทำข้อสอบ ซึ่งพี่ยู THAI EXPERT ได้วิเคราะห์และคัดสรรข้อสอบจริงย้อนหลังและข้อสอบยากระดับเดียวกัน มาให้น้อง ๆ ได้ฝึกปรือฝีมือ พร้อมสำหรับการสอบวิชาสามัญ ภาษาไทยอย่างแน่นอน การันตีจากรุ่นพี่ที่เคยเรียนปี 60 สอบได้ที่ 3 ของประเทศนะจ๊ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ